วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย


1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน

2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย

3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ

6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก



8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ


การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

1. จัดให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจากคนรุ่นเก่าสู่คนรู่นใหม่ เช่น การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเรือ ด้วยการจัดชมรมประจำท้องถิ่น หรือการเชิญพ่อเพลงแม่เพลงในชุมชนมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง หรือจัดกิจกรรมขึ้นในโรงเรียน เป็นต้น

2. เปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคมที่ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย เช่น ควรส่งเสริมการศึกษาและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรไทย เช่น ที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ได้นำสมุนไพรต่าง ๆ มาสกัดเป็นยารักษาโรค เครื่องสำอาง ขายให้กับประชาชนทั้วไป เป็นต้น

3. ร่วมกันทำให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้ จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการจัดแสดงหรือรณรงค์เป็นบางช่วงเท่านั้น เช่น บางท้องถิ่น บางหน่วยงานรณรงค์ให้คนในท้องถิ่นหรือในหน่วยงานแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัด เย็บจากผ้าพื้นเมือง ก็ควรหาแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ราคาย่อมเยา ไม่ควรให้คนรุ่นใหม่คิดว่าการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองเป็นความเชย ดูแลรักษายาก ราคาแพง และเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะผู้สูงอายุหรือใช้แต่งเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่า นั้น


จัดทำโดย   
นางสาว  เจนจิรา  มีสุข  54362791 วิศวกรรมเคมี
อ้างอิงมาจาก  http://www.culture.go.th/
http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=25&id=161&Itemid=262

ชนิดของเครื่องจักรสาน (2)

เครื่องมือจับสัตว์น้ำ

สุ่มจับปลา
กระชังสานจากไม้ไผ่






เครื่องมือเครื่องใช้ในงานกสิกรรม
งอบสานจากใบลาน
กระจาด
กระบุงใช้เก็บข้าวหรือพันธุ์พืช



ชนิดของเครื่องจักรสาน



เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน


กระชอน ใช้คั้นมะพร้าวและกรองกะทิ สานด้วยไม้ไผ่


กระจาด สานด้วยไม้ไผ่ ใช้ใส่สิ่งของ

เปล ใช้สำหรับเด็ก ๆ นอน

ฝาชี


งานประเภทเครื่องจักรสาน



                    นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว มาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาจนปัจจุบัน กรรมวิธีดังกล่าว ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า หัตถกรรมอันหมายถึง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ เครื่องมือ ภูมิปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้สอย โดยรวมความงาม เน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ ประณีตงดงามเป็นความละเอียดอ่อนในทางศิลปะ เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า หัตถกรรมศิลป์ เครื่องจักสานถือได้ว่าเป็นแขนงหนึ่งในงานหัตถกรรมและหัตถกรรมศิลป์ ที่ได้ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์มานานนับพันปีเช่นเดียวกัน จนปัจจุบันเครื่องจักสานก็ยังคงทำหน้าที่ไม่น้อยกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา พร้อมกับการพัฒนาวิธีการผลิต รูปแบบและการตลาด จนสามารถกระจายแพร่หลายอย่างทั่วถึงทั้งในและต่างประเทศ จนสามารถเป็นสินค้าออกที่เชิดหน้าชูตาได้ดีประเภทหนึ่ง เช่นการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ การนำเอาเสื่อจันทบูร มาตัดเย็บเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นของชำร่วย จนถึงของใช้ เช่นกระเป๋าถือ และแฟ้มใส่เอกสาร รวมถึงงานที่ประณีตด้วยฝีมือ อย่างย่านลิเภา



ความหมายเครื่องจักสาน

คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ คำว่า จักสานคำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเครื่องจักสาน

ภูมิประเทศเกือบทุกภาคของประเทศไทยล้วนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์นานาชนิดสามารถนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้เป็นอย่างดีตัวอย่างวัสดุที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดีคือ ไม้ไผ่ นำมาทำเครื่องใช้ในครัวเรือนได้เกือบทุกชนิด เช่นกระด้ง กระเชอ กระชอน สานเป็นเครื่องดักจับสัตว์น้ำเช่น ไซ ข้อง ฯลฯและ สานเป็นฝาเรือน ฝาบ้าน เป็นต้น


คุณค่าและการใช้สอยในชีวิตประจำวัน
ในสังคมกสิกรรมหรือเกษตรกรรม เครื่องจักสานมีบทบาทที่สำคัญยิ่งเนื่องจากชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาของตนเองประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ขึ้น ตามความต้องการใช้งานเขาจะใช้อย่างรู้และเข้าใจในสิ่งนั้นๆ และเห็นคุณค่าของเครื่องใช้ เครื่องจักสานจากภูมิปัญญาของตน
๑. ประโยชน์ของการใช้สอยสามารถโยงใยไปถึงคุณค่าแห่งจิตใจ ให้เกิดความรักและหวงแหนในคุณค่าของสิ่งที่ตนเองบรรจงสร้างขึ้น จากความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณที่สร้างความงดงามในชิ้นงานแต่ละชิ้น ตั้งแต่การเหลา การเกลา จนนำมาสานรวมเป็นภาชนะของใช้ ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะใช้อย่างคุ้มค่าและทะนุถนอม
๒. สะท้อนของความอุดมสมบูรณ์ และ ความสงบสุขในสังคม ท้องถิ่นเครื่องจักสานที่มีใช้ทั่วไปนั้น มีทั้งเครื่องจับสัตว์ ทำการเกษตร ของใช้ในครัวเรือน และสิ่งเบ็ดเตล็ด หรืออาจรวมไปถึงเครื่องจักสานที่ใช้ในพิธีกรรมบางอย่าง สิ่งเหล่านี้รับใช้คนในสังคมชนบทที่มีแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นถิ่นซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีการแบ่งปันการใช้สอย การพึ่งพาอาศัย สร้างสมคุณธรรม จริยธรรม กลายเป็นระบบคุณธรรม และเป็นที่มาของความสงบ
๓. เครื่องจักสานจะแสดงคตินิยม ความเชื่อ เรื่องราวต่างๆ ของสังคม และยุคสมัยที่มีผลจากรูปแบบของประเพณีต่างๆ ก่อให้เกิดงานศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ชุมชน แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ อาชีพ

งานประเภทเครื่องไม้



1). เกวียนสลัก

พาหนะสร้างจากไม้เนื้อแข็ง ใช้ความหรือวัวเทียม สำหรับใช้บรรทุก ขนส่งหรือเดินทางไกลมีการสลักลวดลายเต็มพื้นที่ของตัวเลื่อนเกวียน รวมทั้งส่วนประกอบอื่นเป็นผลผลิจากองค์ความรู้หลายแขนง เช่น การคำนวณสัดส่วนโครงสร้างการเลือกไม้และการแกะสลักลวดลายต่างๆ

งานประเภทเหล็ก




1).มีดอรัญญิก
เป็นมีดที่ทำด้วยเหล็กกล้าตีจนเนื้อเหล็กแน่น คมบาง แต่ไม่แตกหรือบิ่นแม้ผลิตขึ้นจากกรรมวิธีที่ไม่ซับซ้อน แต่ผู้ผลิตต้องอาศัยทักษะเฉพาะทางหลายชนิดเพื่อทำงานร่วมกันจนได้เครื่องเหล็กคุณภาพที่ดีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ


2). กระดิ่งทองเหลือง

มีลักษณะคล้ายระฆังขนาดเล็ก มี "ลูกฟัด" เป็นตุ้มเล็กๆ อยู่ข้างใน ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังเมื่อลมกระทบผลิตด้วยกรรมวิธีโบราณ โดยช่างซึ่งมีทักษะความชำนาญหลายด้าน เพื่อผลิตกระดิ่งที่มีเสียงไพเราะกังวานและได้ยินในระยะไกล




3). กริซ

เป็นภาษามลายู หมายถึงมีดสั้นทำจากเหล็กมากกว่า๒ ชนิด นำมาหลอมแล้วจึงตีขึ้นรูปเป็นใบกริช ซึ่งมีทั้งแบบตรงและแบบคด โดยจำนวนคดของกริชจะบ่งบอกถึงศักดินาของเจ้าของนอกจาเป็นอาวุธแล้ว กริชจังเป็นเครื่องรางและเครื่องประดับ ที่สะท้อนความงามทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

งานประเภทเครื่องปั้นดินเผา


เครื่องปั้นชนิดเขียนสีใต้เคลือบนิยมทำเป็นทั้งภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ และรูปประติมากรรมลอยตัว ความพิเศษ คือทำจากดินขาวที่มีคุณภาพสูง ลวดลายหลากหลายที่เกิดจากการเขียนสีใต้เคลือบเป็นสีดำ มีความพลิ้วไหวละเอียดอ่อนเคลือบผิวสวยงาม โดยไม่มันเงาแต่เรียบใสและมีความบาง


         เครื่องปั้นดินเผานั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ซึ้งแต่เดิมคงทำขึ้นเพื่อเป็นภาชนะใส่อาหารและน้ำ ต่อมามนุษย์ก็พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพดีขึ้นและประโยชน์ใช้สอยของเครื่องปั้นดินเผาก็เพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นกัน สันนิษฐานกันว่าเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกๆ อยู่ในช่วงเวลาราวๆ 1500 BC ก่อนคริสตกาล ได้พบหลักฐานผลิตภัณฑ์ประเภทอิฐ (ใช้ในการก่อสร้าง) ครั้งแรกที่ประเทศบาบีโลเนีย เอสซีเรีย อียิปต์ และประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งในแถบนี้มีความก้าวหน้าในเรื่องเครื่องปั้นดินเผากันมาก รู้จักวิธีใช้ดินแดง ดินดำ ดินขาว มาตกแต่งผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะประเทศจีนมีความก้าวหน้าดีพอสมควร
            ประวัติเครื่องปั้นดินเผาของจีนเริ่มในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องปั้นดินเผายังไม่มีการเคลือบ แต่ต่อมาก็มีการเคลือบเกิดขึ้นทั้งชนิดเคลือบตะกั่ว และเคลือบด่าง ในราชวงศ์ถังมีการทำเคลือบได้หลายๆ สี ในสมัยซ้องสมัยย่วนและมิง มีการเคลือบแบบกังใสอีกด้วย (เคลือบปอร์สเลนที่เผาอุณหภูมิสูง) มีการเคลือบสีแดงครั้งแรกเกิดขึ้นและจีนได้ประสบความสำเร็จในการทำเคลือบสีต่างๆ สีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ แดง น้ำเงิน และเขียน ส่วนในประเทศยุโรปก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผานานมาแล้ว ประเทศแรกที่ให้ความสนใจมากคือ อิตาลี ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดเนื้อหยาบและมีความพรุนตัวสูง เรียกว่า เมโจริก้า ต่อมาฝรั่งเศสก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาลักษณะเช่นเดียวกับอิตาลี เรียกว่า แฟร์ออง อยู่ในราวศตวรรษที่ 17 ชาวยุโรปพยายามทำปอร์สเลนแบบจีน แต่เนื่องจากใช้ดินแดงทำจึงไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมายุโรปได้พบดินขาวชนิดเกาลินขึ้น จึงตั้งชื่อว่า CHINA STONE ต่อมาโจเฮ็น เปรดดริค โบสเจอร์ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาปอร์สเลนจนสำเร็จ และได้ตั้งโรงงานขึ้นเป็นครั้งแรก
         ช่างที่ทำด้วยชามสังคโลกขึ้นเป็นครั้งแรกคือคนจีน ในประเทศไทยมีเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ เครื่องสังคโลกมีลักษณะเหมือนถ้วยชามของจีนในสมัยปลายแผ่นดินซ้อง เป็นชนิดเคลือบทึบ ต่อมาเมื่อสุโขทัยอยู่ภายใต้อยุธยา ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาก็เสื่อมลงเป็นแค่การปั้นดินหยาบๆ เท่านั้นปัจจุบันการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดขึ้นหลายแห่งส่วนหน่วยงานรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมค้นคว้าวิจัยได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและศูนย์วิจัยเครื่องปั้นดินเผา
ความหมายของเครื่องปั้นดินเผา
ในสายตาของคนทั่วไปเครื่องปั้นดินเผาเป็นเพียงแค่ภาชนะต่างๆ ต่างเท่านั้น บ้างก็มองทางเชิงศิลป์ว่าเป็นของตกแต่งที่สวยงามหรือเป็นโบราณวัตถุที่ควรค่าต่อการเก็บรักษาเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วใช่ว่าจะมีเพียงความหมายเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดินและหินที่ผ่านกรรมวิธีเผาให้คงทนแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมการทำแก้ว โลหะเคลือบ การทำซีเมนต์ ปูนขาวปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งนับว่ามีประโยชน์เช่นกัน
ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย
ยุคหินกลาง พบเครื่องปั้นดินเผาผิวเคลือบมีความเงาและเครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกทาบ
สมัยหินใหม่ พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายแปลกใหม่เพิ่มขึ้นทีมีทั้งลายเรียบๆ ธรรมดาไปจนถึงลายที่มีความวิจิตรงดงามมาก ภาชนะสมัยหินใหม่ตอนต้นมีจุดเด่นคือ มีที่รองรับถาวร บ้างก็เป็นขากลวง 3 ขา มีรูเจาะไว้ 3 รู เพื่อไล่อากาศ
ยุคโลหะ ในยุคนี้ได้ถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นหัตถกรรมดั้งเดิม ที่ค่อยๆ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ
เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมมากในวัฒนธรรมของซานคือ การทำลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยง
เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น 6 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ
ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต. จันเสน พยุหะคีรี พบวัตถุชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้นเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวเนื้อแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นดินเผาอื่นที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น แสดงว่า ต.จันเสน ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆ แล้ว
ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายต่างๆ ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง หงส์ วัวและนักรบ
แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 ? 3 แบบ แต่ดูเหมือนว่าจะเผาในเตาอย่างแท้จริง ไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนแต่ก่อน แม้ว่าจะไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย พบเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณสนามบิน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล (ไทยขอม) เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ และเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลและน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลก
เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม

ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่าง

        งานช่างฝีมือพื้นบ้านดั้งเดิม หมายถึง ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุและกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อนพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชน ประกอบด้วยผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า เครื่องจักรสาน เครื่องรัก เครื่องปั้นดินเผาเครื่องโลหะเครื่องไม้ เครื่องหนัง เครื่องประดับ งานศิลปกรรมพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
งานประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า




1). ซิ่นตีนจก
  
งานทอผ้าของชาวภาคเหนือที่มีสีสันและลวดลายวิจิตรงดงาม ประจักษ์พยานของความเพียรพยายาม ความมานะ อดทน สมาธิ และความละเอียดประณีตในจิตใจ ในการทอลวดลายโดยเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ แล้วใช้ไม้ หรือขนเม่น หรือนิ้วก้อยเพื่อ "จก" หรือควักเส้นด้ายสีสันต่างๆขึ้นมาบนเส้นยืน ให้เกิดลวดลายตามที่ต้องการ


2). ผ้าแพรวา
    
ผ้าไหมทอเป็นผืนความยาว ๑ วา ชาวผู้ไทยทอขึ้นเพื่อใช้ห่มเฉียงไหล่เป็นผ้าสไบ หรือใช้เป็นผ้าคลุมไหล่คลุมทับชุดพื้นเมืองในงานบุญหรืองานประเพณีสำคัญ ผืนหนึ่งประกอบด้วยลวดลายหลายสิบลายไม่ซ้ำกันซึ่งวิธีการทอแบบดั้งเดิม จะใช้เพียงทักษะและสองมือ โดยไม่ใช้อุปกรณ์อื่นเข้ามาช่วย จึงทำให้แพรวาแต่ล่ะผืนต้องใช้เวลาทอนานนับเดือน


4).ผ้าทอนาหมื่นศรี
ผ้าทอพื้นถิ่นในจังหวัดตรังมีลวดลายสะท้อนถึงความเชื่อมโยงทาง วัฒนธรรมกับราชสำนักสยาม และเส้นทางการค้าทางทะเล มีทั้งที่ทอเป็นผ้าขาวม้า ผ้าพาดบ่า และผ้าพานช้าง ซึ่งเป็นผ้าผืนยาวที่ผู้ทอเตรียมไว้ใช้ประกอบในพิธีศพของตน



5). ก่องข้าวดอก
ภาชนะจักสานไม้ไผ่ของชาวภาคเหนือสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง ใช้ดอกผิวไม้ใผ่ย้อมสีมะเกลือ สานสลับกับตอกสีธรรมชาติ เพื่อยกดอกเป็นลวดลายทางด้านนอกขาก่องข้าวทำด้วยไม้สักหูร้อยเชือกทำด้วยหวาย มีรูปทรงและลวดลายหลากหลาย มักใช้ในโอกาสสำคัญของครัวเรือน



6). เครื่องจักสานย่านลิเภา
ย่านลิเภา เป็นพืชตระกูลเถาวัลย์มีคุณสมบัติ คือ ลำต้นเหนียว สามารถนำมาจักสานเปนภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ได้อย่างงดงาม ทั้งด้วยลวดลายของการจักสานและความงามจากสีธรรมชาติของวัสดุ อาจมีการเสริมส่วนประกอบด้วยเครื่องถมเงิน และถมทอง เพื่อเพิ่มมูลค่าและความงามของเครื่องจักรสานย่านลิเภาให้สูงขึ้น



อ้างอิงจาก http://www.culture.go.th/ichthailand/work01.html






ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

คือ องค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น และรวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ภูมิปัญญาฯ ประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง และอื่นๆ

2. ภูมิปัญญาฯ ประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนา พื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่

- องค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น (Traditional Knowledge) หมายถึง องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ นวัตกรรม แนวปฏิบัติ หรือการเรียนรู้ที่เป็นผลมาจากกิจกรรมทางปัญญาในรูปแบบดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มีการสืบทอดและพัฒนาจากรุ่นอดีตสู่รุ่นปัจจุบัน ผ่านกาลเวลา เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำไวน์กระชายดำ การทำมีดอรัญญิก การทอผ้าไหม เป็นต้น

- การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (Expression of Folklore) หมายถึง การแสดงออกซึ่งองค์ความรู้และวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งปรากฏหรือแสดงให้เห็นในรูปแบบต่างๆ เช่น การแสดงออกทางวาจา (เช่น ตำนาน กวีนิพนธ์ ปริศนา เรื่องเล่า) การแสดงออกทางดนตรี (เช่น เพลง ดนตรี)การแสดงออกทางกาย (เช่น การเต้น การแสดงละคร พิธีกรรม)การแสดงออกในสิ่งที่จับต้องได้ (เช่น งานศิลปะ รวมถึง ภาพวาด งานจิตกรรม) เป็นต้น

- ทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resource) หมายความรวมถึง ทรัพยากรพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งมีชีวิต หรือองค์ประกอบที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตของระบบนิเวศ ซึ่งมีประโยชน์หรือคุณค่าตามความเป็นจริงและตามศักยภาพ เช่น พืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นที่สามารถนำมาผลิตยารักษาโรคต่าง ๆ ได้ เป็นต้น

ในอดีตประเทศต่าง ๆ มุ่งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้การคุ้มครองการสร้างสรรค์ใหม่ และพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน กรมทรัพย์สินทางปัญญาเล็งเห็นว่า องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมมักถูกนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงอยู่เสมอ และไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งความรู้ดั้งเดิมอยู่มาก อาทิ ความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค การนวดเพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ซึ่งมีใช้ในชีวิตประจำวันในบางชุมชน ตลอดจนพันธุ์พืชดั้งเดิมที่พบในไทยและสามารถนำไปพัฒนาเกิดพันธุ์ใหม่ เป็นต้น